ศึกษาสภาพปัญหา


โภชนาการกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

           จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทย มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า จะมีจำนวนประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2563 (ซึ่งตรงกับ คศ. 2020) ในสภาพปัจจุบัน ผู้สูงอายุไทยมากกว่าครึ่ง ยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีความสุขมากนัก เพราะมีทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย เนื่องจากความสูงอายุ ร่วมกับภาวะโรคภัยไข้เจ็บ ที่ทำให้ไม่สามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขเท่าที่ควร ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และมีผลปั่นทอนความสุข และสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้แก่
  1. โรคเบาหวาน
  2. โรคความดันโลหิตสูง
  3. โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
  4. โรคหลอดเลือดหัวใจ
  5. โรคคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  6. อัมพาต และหรือแขนขาอ่อนแรง
  7. ปวดข้อระยะยาว
  8. ปวดหลังระยะยาว
  9. หกล้มและกระดูกหัก (กระดูกต้นขา) อ่านรายละเอียดต่อ.....http://rxrama.com/article005.html


การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยทอง


ปัญหาที่พบในผู้สูงอายุ
ปัญหาของผู้สูงอายุที่สำคัญ ได้แก่
  1. ปัญหาทางด้านสุขภาพกาย ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ทั้งโรคทางกาย และทางสมอง ผู้มีอายุเกิน 65 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองคือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า
  2. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่มีฐานะไม่ดี ไม่มีลูกหลานดูแลอุปการะเลี้ยงดู อาจจะไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพ อาจจะไม่มีที่อยู่อาศัย ทำให้ได้รับความลำบาก
  3. ปัญหาทางด้านความรู้ ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ให้เหมาะสมกับวัย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เข้ากันได้กับเยาวชนรุ่นใหม่                                           อ่านรายละเอียดต่อ.....http://www.anamai.moph.go.th/soongwai


ใส่ใจสุขภาพ : 12 ปัญหาสุขภาพ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

          ในปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี อยู่ราว 1 ใน 6 ของประชาการทั้งหมด เนื่องมาจากคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้จะช่วยทำให้การมีอายุยืนยาวมีความสุขทั้งทางกาย ใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับประโยชน์ในสังคมและอย่างมีศักดิ์ศรี มากกว่าการมีชีวิตยืนยาว แต่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับความเจ็บป่วย ทำให้เพิ่มเวลาของความทุกข์และภาวะจำทน อ่านรายละเอียดต่อ.....http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9530000059681


ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

  1. กระดูกหักง่าย เนื่องจากความเสื่อมของกระดูก กระดูกบางที่พบบ่อยๆ คือกระดูกสะโพก ต้นขา ข้อมือ และกระดูกสันหลัง
    การแก้ไข ดื่มนม กินปลาเล็กปลาน้อยอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรดื่มเหล้าเพราะเหล้าจะทำให้สูญเสียแคลเซียมได้มากทำให้กระดูกผุ เปราะและเสื่อมเร็ว
  2. หลงลืมบ่อย เนื่องจากเซลล์สมองเสื่อม เซลล์สมองลดลง มีการตายของเซลล์ และไม่เกิดขึ้นใหม่
    การแก้ไข ควรรวมกลุ่มในวัยเดียวกันมีกิจกรรมร่วมกัน ไม่แยกตัว ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่สังคม จะช่วยให้ความจำดีขึ้น
  3. สายตาไม่ดี เกิดจากเลนส์ตาแข็งตัว ยืดหยุ่นไม่ดี การปรับภาพจะน้อยลง จึงเห็นภาพไม่ชัด ต้องสวมแว่นตา
  4. หูตึง เกิดจากประสาทการได้ยินของหูเสื่อม ควรพบแพทย์
  5. ฟันไม่ดี ทำให้กินอาหารไม่ได้ กินช้าลง กินได้น้อย ทำให้ต้องเลือกอาหาร จึงทำให้เกิดภาวะขาดอาหารได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์  อ่านรายละเอียดต่อ.....http://budhosp.tripod.com/elderly.htm

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเมื่อย่างสู่วัยสูงอายุ

           ร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้นจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือปัญหาทางสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ...
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สภาพร่างกายจะเห็นได้ว่าเสื่อมลงตามอายุขัย สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ขี้หงุดหงิด มีความวิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือจากการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุได้การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย   อ่านรายละเอียดต่อ.....



ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ

          
           ปัจจุบัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรที่มีอายุถึง 65 ปี จะยังคงสามารถดำรงชีพยืนยาว ต่อไปได้  โดยไม่มีภาวะความเจ็บป่วยที่รุนแรงมากนักแต่ก็มีประชากรที่เหลืออีกไม่น้อยที่มีชีวิต อยู่ด้วยโรคภัย ไข้เจ็บต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งเราจะมีวิธีการอย่างไรให้การดูแลพวกเขาเหล่านั้น  ให้เกิดปัญหาให้น้อยลง  อ่านรายละเอียดต่อ.....


หลัก 11 ข้อในการดูแลผู้สูงอายุ

         ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้  วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็น  "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ"  โดยได้เล็งเห็นชอบให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2526และในปีนี้ได้กำหนดให้เดือนเมษายน เป็นเดือนแห่งการจัดงานแห่งวันผู้สูงอายุแห่งชาติปี2551 โดยกำหนดหัวข้อการจัดงาน"เตรียมความพร้อมไม่ต้องเดี๋ยวเผลอแป๊ปเดียวก็สูงวัย"เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักในคุณค่าของผู้สูงอายุ  และการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ  นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแสดงบทบาท  สูงวัยอย่างมีพลัง (Active ageing) อีกด้วย
         สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ  จึงได้ส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่ให้ข้าราชการและพนักงานในสังกัด ตลอดจนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้เห็นถึงความสำคัญและใส่ใจดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้น เนื่องจาก "ผู้สูงอายุ"  จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และสังคม ดังนั้น  หากบุตรหลานและผู้ใกล้ชิดเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเอาใจใส่ดูแลให้มากขึ้น  ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวเข้าสู่วัยสูงอายุได้อย่างมีความสุข


5 โรคฮิตคนสูงวัย (ธรรมลีลา)

นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จากรายงานปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ในสถานบริการสังกัด กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในรอบ 5 ปี พ.ศ. 2547-2551 มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการ 141,566 รายต่อปี ผู้ป่วยใน 2,663 รายต่อปี  อ่านรายละเอียดต่อ.....

โรคที่พบในผู้สูงอายุ

โรคที่พบในผู้สูงอายุ นั้น ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดมา ตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว แต่ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ บางโรคเกิดเนื่องจาก ความเปลี่ยนแปลงของ การบริโภคอาหาร ภายหลังจากเกษียนอายุราชการ โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ โภชนาการในอดีตหรือปัจจุบัน ได้แก่  อ่านรายละเอียดต่อ.....



ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรที่มีอายุถึง 65 ปี ซึ่งเราสามารถเรียกประชากรกลุ่มนี้ได้ว่า ผู้สูงอายุการได้ทราบถึงปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทำให้เกิดความเข้าใจ การหาทางป้องกัน หาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปราศจากโรคภัย ทำให้ท่านมีสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลดีต่อหน่วยเล็กๆ ในสังคมอย่างครอบครัว และกระจายผลดีต่อไปยังสังคมใหญ่ระดับประเทศ  อ่านรายละเอียดต่อ.....

การหกล้มในผู้สูงอายุ


           สิ่งที่มักถูกมองข้ามคือผลระยะยาว ผลกระทบคือความกลัวที่จะหกล้มซ้ำ เสียความมั่นใจที่จะเดินตามลำพัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกทำให้ต้องนั่งและนอนเตียงนานๆ ผู้สูงอายุจะช่วยตนเองน้อยลง ลดหรืองดเว้นกิจกรรมต่างๆ แยกตัวและซึมเศร้า ผลรวมคือสุขภาพถดถอย หกล้มง่ายขึ้นและเพิ่มภาระแก่ผู้ดูแล
ภาวะที่ผู้สูงอายุหกล้ม และเกิดอันตรายต่อท่าน เป็นสิ่งที่ลูกหลานหรือผู้ที่ใกล้ชิดที่ดูแลท่านไม่อยากให้เกิด แต่ปัญหาเหล่านี้ก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง การหกล้มที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตเลยทันทีมีน้อย แต่พบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ป่วย และเสียชีวิตภายหลังจากการหกล้ม สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุมักมีมากกว่าหนึ่งสาเหตุ โดยอาจเป็นผลรวมของปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุควรมีความเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้หกล้ม การช่วยเหลือ การป้องกัน และถ้าเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ท่านควรทราบก็คือ ควรประเมินสถานการณ์ความรุนแรงว่า ควรนำส่งโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหรือไม่  อ่านรายละเอียดต่อ.....







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น