แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนานวัตกรรม


การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม/หลักธรรมมานามัย

จาก แนวคิดของศ.นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนอายุรเวท

ท่าน ศ.นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ให้หลัก และแนวคิด ในการดำเนินชีวิต เป็น แนวทางอย่างน่าสนใจคือการแพทย์แผนไทยมีความแตกต่างจากการแพทย์แผนปัจจุบัน ตรงที่การแพทย์แผนไทย เน้นการดูแล สุขภาพแบบองค์รวมไม่แยกส่วนแบบแผนปัจจุบัน ดังนั้น การดูแลจึงเป็นไปในทุกมิติ ไม่เพียงแต่เรื่องของร่างกาย ความเจ็บป่วย แต่จะพิจารณาถึงความเป็นอยู่ อาหารการกิน การนอนหลับพักผ่อน การ ใช้ชีวิตประจำวันใน อิริยาบถ อย่างไร รวมถึงภาวะ จิตใจ ความเศร้าโศก เสียใจ อารมณ์ความรู้สึกของผู้นั้น ประกอบด้วย เพื่อวินิจฉัย ถึงสาเหตุของ การเกิดโรค สิ่งเหล่านี้ทางการแพทย์แผนไทย ให้ความสำคัญ พอพอกับการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจวินิจฉัย พยาธิสภาพของผู้ป่วย เมื่อเราจะดูแลสุขภาพของทุกคน ไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรือไม่เจ็บป่วย การดูแลเน้นการ บำบัดรักษา การฟื้นฟู และที่สุด คือ การป้องกัน ก็จะใช้ทฤษฎี การดูแลแบบองค์รวมเข้ามาเป็นแนวทาง ในการปฎิบัติ ย่อมทำให้ผู้ได้รับการดูแล มีความสุขทั้งในด้านจิตใจ พร้อมกับการบำบัดทางร่างกายไปพร้อมกัน คือ ร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม  อ่านรายละเอียดต่อ.....

สุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health)


การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นการดูแลสุขภาพที่มีการบูรณาการความรู้ดั้งเดิมเข้ากับการบำบัดเสริม เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดี และป้องกันรักษาโรค ในปัจจุบันมีการนำการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมไปใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้หรือผู้ที่มีความไม่สบาย ทำให้เกิดเป็นการแพทย์แบบองค์รวมขึ้น (Holistic Medicine) การแพทย์แบบองค์รวมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เปรียบเสมือนปรัชญาการสร้างสุขภาพและการรักษาโรค ซึ่งจะพิจารณาองค์ประกอบทุกอย่างของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การให้ผู้เข้ารับการบำบัดเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา หรือปฏิบัติตนเพื่อให้หายจากโรคภัยด้วยตนเอง จะเห็นได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทพฤติกรรมสุขภาพจาก เชิงรับ มาเป็น เชิงรุก ในบางครั้งเรียกการแพทย์แบบองค์รวม ว่าเป็นการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) โดยไม่ได้จำกัดอยู่ที่วิธีใดวิธีหนึ่ง หากแต่ครอบคลุมถึงการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา และการส่งเสริมสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ให้คำนิยามของสุขภาพ (Health) หมายถึงความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส่วนคำนิยามสุขภาวะ (Well-Being) คือ การที่สุขภาพทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณอยู่กันอย่างสมดุล (ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล, 2549 อ้างถึงใน ปรถ ปฐพีทอง, 2547 และ Mathai, 2005)  อ่านรายละเอียดต่อ.....
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140405


แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ

สุขภาพตามความหมายขององค์การอนามัยโลก
                WHO: ได้ให้ความหมายของสุขภาพว่า “Health  is  complete  physical,  mental,  social  and  spiritual  well  being.”  ซึ่งหมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต  ทางสังคมและทางจิตวิญญาณ
                สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย  หมายถึง ร่างกายที่สมบูรณ์  แข็งแรง  คล่องแคล่ว  มีกำลังไม่เป็นโรคไม่พิการไม่บาดเจ็บ มีเศรษฐกิจดี มีอาหารพอเพียง  มีสภาพแวดล้อมที่สร้างเสริมสุขภาพซึ่งคำว่ากายในที่นี้หมายถึงทางกายภาพด้วย
                สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิต  หมายถึง  จิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความเมตตา  มีสติ  มีสมาธิ  มีปัญญา  รวมถึงลดความเห็นแก่ตัวลงไปด้วยเพราะตราบใดที่ยังมีความเห็นแก่ตัวจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทางจิตไม่ได้
                สุขภาพที่สมบูรณ์ทางสังคม  หมายถึง  มีการอยู่ร่วมกันได้ดี  มีครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง  สังคมมีความยุติธรรม  มีความเสมอภาค  มีสันติภาพ  มีความเป็นประชาสังคม  มีระบบบริการที่ดี
                สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ (Spiritual  well-being)  หมายถึง  สุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อทำความดีหรือจิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงสุด เช่น การเสียสละ  การมีความเมตตากรุณา  การเข้าถึงพระรัตนตรัย  หรือการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า ความสุขทางจิตวิญญาณเป็นความสุขที่ไม่ระคนอยู่กับการเห็นแก่ตัว  แต่เป็นสุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากความมีตัวตน  จึงมีอิสรภาพ  มีความผ่อนคลายอย่างยิ่ง  เบาสบาย  มีความปิติแผ่ซ่านทั่วไป  มีความสุขอันปราณีตและล้ำลึก  หรือความสุขอันเป็นทิพย์  มีความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ  อ่านรายละเอียดต่อ.....

ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน

ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน (Watson’s Caring Theory)

     ทฤษฎีการดูแลของวัตสัน (Watson’s Caring theory) เป็นทั้งปรัชญา และทฤษฏีทางการพยาบาล ที่มีจุดเน้นที่การดูแล (Caring) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979  ภายใต้อิทธิพลทางด้านมานุษยวิทยา รวมทั้งความรู้สึกผูกพันต่อบทบาทการดูแลเพื่อการฟื้นหายของผู้ป่วยที่วัตสันประจักษ์ด้วยตัวเอง ประกอบกับประสบการณ์ของวัตสันขณะเผชิญความเจ็บป่วย เผชิญการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ปัจจุบันทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนาจนวัตสันเรียกว่าเป็น ศาสตร์การดูแลมนุษย์ (Human Caring Science) และมีการจัดตั้งศูนย์การดูแลมนุษย์ (Human science caring center) ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโรลาโด รวมทั้งได้จัดตั้งสถาบันวิทยาศาตร์การดูแลวัตสัน (The Watson Caring Science Institute) ซึ่งมีลักษณะเป็นมูลนิธิที่มุ่งเน้นการพัฒนาทฤษฎีการดูแล การปฏิบัติการพยาบาล การวิจัย บนปรัชญาการดูแลมนุษย์ ทฤษฏีการดูแลของวัตสันได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปใช้ในการพยาบาลที่เน้นรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (Transpersonal caring model) เพื่อให้เกิดการฟื้นหาย (Healing) และมีการใช้เป็นแนวคิดเพื่อการศึกษาวิจัยในวงกว้างทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
อ่านรายละเอียดต่อ..... http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99

แนวคิดในการดูแลสุขภาพ

ภาวะสุขภาพเป็นตำแหน่งบนแกนสุขภาพ ซึ่งมีความต่อเนื่องกันตั้งแต่สุขภาพดีใน ระตับสูง (high level wellness หรือ optimal health) จนถึงป่วยหนัก (severe illness) ภาวะ สุขภาพของคนจะเปลี่ยนแปลงไปมาตามแกนสุขภาพนี้ ผู้ที่เสนอแนวคิดของความต่อเนื่อง ระหว่างสุขภาพดี-การเจ็บป่วย (Health-illness continuum) นี้เป็นคนแรกคือ ฮัลเบอร์ท ดุนน์ (Halbert Dunn) โดยมองสุขภาพเป็นความต่อเนื่อง การมีสุขภาพดีเป็นภาวะพลวัต (dynamic state) ของการเปลียนแปลง (Dunn, 1959. quoted in Billing, and Stokrs, 1987 : 105)

สุขภาพองค์รวมกับสุขภาพสังคม

องค์รวมหมายถึงความเป็นหนึ่งอันเกิดจากความเชื่อมโยงอย่างบรรสานสอดคล้องขององค์ประกอบต่าง ๆ สิ่งที่ตามมาก็คือคุณภาพใหม่ที่พิเศษไปจากคุณภาพขององค์ประกอบย่อย ๆ ทั้งหลาย ตัวอย่างที่ช่วยให้เห็นคุณสมบัติดังกล่าวชัดเจน ได้แก่ ออกซิเจน และไฮโดรเจน ต่างเอื้อต่อการเกิดไฟ แต่เมื่อมารวมกันเป็นน้ำ ก็ได้คุณภาพใหม่ที่สามารถดับไฟได้ หรือแสงเจ็ดสีเมื่อมารวมกันจะได้แสงสีขาว ซึ่งเป็นสีที่พิเศษไปจากสีทั้งเจ็ด  อ่านรายละเอียดต่อ.....http://www.visalo.org/article/healthsukapabkabOngRuam.htm

ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับความสูงอายุ


สุขภาพจิตผูสูงอายุเปนวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความชราภาพ การปรับตัว พฤติกรรม

การปฏิบัติของผูสูงอายุที่มีตอการดูแลสุขภาพจิต การทําหนาที่ของรางกายกับจิตใจมีความ

เกี่ยวของสัมพันธกันอยางแยกไมออก การศึกษาสุขภาพของผูสูงอายุจึงจําเปนตองนํากรอบ
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวของกับปจจัยดานชีววิทยาจิตวิทยา สังคมวิทยา เขามาผสมเขาใจและเขาถึง
การตอบสนองวัยแหงความมีอายุ หรือผูสูงอายุอยางเปนองครวม และใหการดูแลที่เหมาะสม
สอดคลองกับวิถีชีวิตและบางคนอาจจําเปนตองพึ่งพาทางสังคม ซึ่งรัฐควรมีการเตรียมการ
วางแผนรองรับปญหาตางๆของประชากรผูสูงอายุตอไป  อ่านรายละเอียดต่อ.....http://science.srru.ac.th/org/sci-elearning/courseonline/4073205/pdf_3.pdf


ทฤษฎีการสูงอายุ (Theory of Aging) 

1. ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ

    1) Cross linkage theory         
          ทฤษฎีการเชื่อมไขว้ (Cross link Theory on cross link of collagen T.) เชื่อว่าเมื่อชรา สาร Fibrous Protein จะเพิ่มขึ้น และจับตัวกันมากขึ้นทำให้ collagen Fiber หดตัวขาดความยืดหยุ่นและจับกันไม่เป็นระเบียบมีผลให้ cell ตาย และเสียหน้าที่กระบวนการนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับ DNA ของ cell
    2) Free radical theory         
          ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory) กล่าวถึงกระบวนการออกซิเดชั่นของ O2 ที่ไม่สมบูรณ์ในกระบวนการเผาผลาญสารจำพวกโปรตีน, คาร์โบไฮเดรทและอื่นๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ
    3) Wear and tear theory         

          ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory) ความแก่เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเองเมื่ออวัยวะมีการใช้งานมากย่อมเสื่อมได้ง่ายและเร็วขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คืออวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ไม่ค่อยได้ทำงาน จะเสื่อมสภาพไปก่อนในขณะที่อวัยวะส่วนอื่นๆ ที่ทำงานกลับขยายใหญ่ขึ้น  อ่านรายละเอียดต่อ.....http://pckage.weebly.com/362636343619363236073610360736233609360736373656-3.html

ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์

การส่งเสริมสุขภาพเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลอีกบทบาทหนึ่ง การส่งเสริมสุขภาพ
ต้องการองค์ความรู้ในการนำมาออกแบบกิจกรรม หรือวางแผนให้บุคคล ชุมชนได้ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสู่การส่งเสริมสุขภาพตนเอง ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender et
al.,2002) เป็นทฤษฎีที่ได้รับการนำมาประยุกต์ใช้มาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับการส่งเสริมการออกกำลัง
กาย การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การจะเข้าใจทฤษฎีใดสิ่งที่ควรเรียนรู้เข้าใจในเบื้องต้นคือการรู้จัก
ผู้พัฒนาทฤษฎีเพื่อเข้าใจที่มาของแนวคิดทฤษฎี  อ่านรายละเอียดต่อ.....http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/PD.pdf

บทความปริทัศน์

แนวคิดทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ
Educational Concepts for Developing Active Aging in the Elderly  อ่านรายละเอียดต่อ.....
“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 
เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา   อ่านรายละเอียดต่อ..... http://mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post_1880.html

คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย
สําหรับผู้สูงอายุ
 อ่านรายละเอียดต่อ.....http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h377146.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น